Chapter 11 ว่าด้วยเรื่อง LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ในประเทศไทย
Updated: Jun 12, 2019
Green way
Chapter 11 ว่าด้วยเรื่อง LEED (Leadership in Energy and Environmental Design) ในประเทศไทย
เราได้พูดกันถึงความเป็นมาของ ระบบประเมินอาคารที่ชื่อ LEED ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังเป็นที่กล่าวขวัญกันในเวลานี้ไปบ้างแล้วใน Green Way ฉบับที่แล้ว วันนี้จะขอลงลึกลงไปอีกสักหน่อย ว่าตอนนี้ความนิยมของ LEED ในเมืองไทยเป็นอย่างไรบ้าง แต่ก่อนอื่นเรายังคงต้องเข้าใจกันก่อนว่า ก่อนที่จะได้ได้รับการประเมินนั้น อาคารที่จะเข้ารับการประเมินต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
LEED (version 2009) จะมีการประเมินอาคาร Green Building ว่าจะเป็นอาคารเขียวมากน้อยอย่างไรจากหัวข้อทั้งหมด 6 หัวข้อดังต่อไปนี้ 1) Sustainable Site ความยั่งยืนของสถานที่ตั้งอาคาร 26 คะแนน 2) Water Efficiency ประสิทธิภาพในการใช้น้ำทั้งภายในและภายนอกอาคาร 10 คะแนน 3) Energy and Atmosphere การใช้พลังงานภายในอาคารและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 35 คะแนน 4) Materials and Resources การใช้วัสดุและทรัพยากรในการก่อสร้างอาคาร 14 คะแนน 5) Indoor Environmental Quality คุณภาพของสภาพแวดล้อมโดยรวมภายในอาคาร 15 คะแนน 6) Innovation in Design นวัตกรรมในการออกแบบ 6 คะแนน
7) Regional Priority Credit การออกแบบที่สอดคล้องกับลักษณะภูมิอากาศ/ภูมิประเทศท้องถิ่น 4 คะแนน รวมทั้งหมด 110 คะแนน
โดยที่มีเกณฑ์ในการ ตัดสินอาคารที่คล้ายกับบัตรเครดิตโดยมี 4 ระดับดังต่อไปนี้ LEED Platinum 80+ คะแนน LEED Gold 60-79 คะแนน LEED Silver 50-59 คะแนน LEED Certified 40-49 คะแนน
ในขณะนี้ มีอาคารในประเทศที่ได้รับการรับรองการประเมินไปแล้วทั้งสิ้น 8 แห่ง (โดย เป็น LEED สำหรับโครงการต่างๆกันไปไม่ว่าจะเป็น งาน interior หรืองานอาคาร เฉพาะอย่าง เช่น LEED School ทั้งนี้ชนิด ของประเภทLEED นั้น ได้ลงไว้ใน Green Way ฉบับที่แล้ว) ซึ่งได้แก่
สำนักงานใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย ที่ถนนพหลโยธิน เป็น LEED CI 2.0 ได้ ระดับ Gold
สำนักงาน USAID RDMA, ที่อาคาร Athenee เป็น LEED CI 2.0 ได้ ระดับ Silver
อาคาร Energy Complex ถนน วิภาวดี เป็น LEED CS 2.0 ได้ ระดับ Platinum
อาคารโรงงาน InterfaceFLOR ที่ อมตะนคร เป็น LEED NC 2.2 ได้ระดับ Certified
อาคาร Manufacturing Facilityที่ อมตะนคร เป็น LEED NC 2.2 ได้ระดับ Silver
อาคาร สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของ RITTA เป็น LEED NC 2.2 ได้ระดับ Gold
อาคาร Cultural Centre ของโรงเรียน นานาชาติ ISB เป็น LEED for School 2.0 ได้ระดับ Gold
สำนักงาน ของ CitiPlan เป็น LEED CI v.2009 ได้ระดับ Gold
นอกจากนี้ ยังมีอาคารในประเทศไทย ที่ลงทะเบียนกับ USGBC ไปแล้วเพื่อรอการประเมินอีก ประมาณ 25 โครงการ
ตารางการเปรียบเทียบสัดส่วน การ Registered และ Certified ของ ประเทศต่างในเอเชีย
ข้อมูล ณ วันที่สิงหาคม 2554
คงจะต้องยอมรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่ใครก็พูดถึงเรื่อง กรีน นั้นกำลังมาถึงแล้ว ดังนั้น โปรดอย่าลืมติดตาม Green Way ฉบับหน้านะครับ
Recent Posts
See AllGreen Way Chapter 15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน การออกแบบบ้านโดยเน้นเรื่องการติดแอร์ให้ประหยัดพลังงานในบ้านเพื่อทำให้บ้านเย็น...
Green way Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร วันนี้เรื่องที่เราจะพูดถึงกันเป็นหมวดที่สองที่อยู่ในการประเมินอาคารของ...
Green way Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3) “เสียสละเพื่อส่วนรวม” คำๆนี้ พูดง่ายแต่ทำยากนะครับ เพราะว่า...
Comments