top of page
  • Writer's picturegd

Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร

Updated: Jun 12, 2019

Green way

Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร


วันนี้เรื่องที่เราจะพูดถึงกันเป็นหมวดที่สองที่อยู่ในการประเมินอาคารของ LEED นั่นก็คือเรื่องการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร


คำถามก็คือทำไมเราต้องประหยัดน้ำในเมื่อโลกของเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบถึงร้อยละ 70 และค่าน้ำบ้านเราก็ราคาไม่ได้แพงอะไร?


คำตอบก็คือ

  1. จริงครับที่น้ำเป็นทรัพยากรที่ไม่มีวันหมดไปจากโลก แต่ว่าน้ำที่เราสามารถนำมาอุปโภคบริโภคได้นั้นมีอยู่จำกัดและมีค่าใช้จ่ายรวมถึงการใช้พลังงานเพื่อทำให้น้ำจากแหล่งน้ำที่เรามีอยู่นั้นเปลี่ยนมาเป็นน้ำประปาที่เราใช้กันในบ้านเรือน

  2. การใช้น้ำประปาในบ้านเรือนที่พักอาศัยรวมถึงอาคารส่วนใหญ่นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องปั๊มน้ำ เนื่องจากแรงดันไม่เพียงพอต่อการใช้งานบางประเภท เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน ฯลฯ  หรืออาคารที่มีความสูงเกินกว่าแรงดันของท่อน้ำ จะส่งไปถึง ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าการใช้น้ำประปาเป็นการใช้ไฟฟ้าทางอ้อม

  3. การบริโภคทรัพยากรน้ำ มีมากขึ้นก่อให้เกิดจำนวนน้ำเสียที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งน้ำเสียบางส่วน จำเป็นที่จะต้องผ่านการบำบัด ดังเช่นในโครงการใหญ่ๆ ขั้นตอนการรวบรวมและบำบัดน้ำโสโครกก็นำมาซึ่งการใช้พลังงานและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย อีกทั้งการก่อให้เกิดน้ำเสียจำนวนมากทำให้เกิดผลกระทบต่อส่วนรวมและระบบนิเวศน์  การลดการใช้ปริมาณน้ำ หรือการใช้เท่าที่จำเป็นนั้นจึงเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

เมื่อเราทราบสาเหตุว่าทำไมเราต้องประหยัดน้ำกันแล้วเราก็สามารถช่วยกันประหยัดน้ำจากการใช้งานที่เกิดขึ้นภายในอาคารได้โดย

การใช้สุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ (High-Efficiency Plumbing Fixture)

เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวที่สุด แต่ก็ทำให้เกิดการประหยัดน้ำอย่างได้ผลที่สุดอย่างหนึ่งเหมือนกันยกตัวอย่างเช่นโถสุขภัณฑ์ แบบเก่าที่บ้านเมื่อสักยี่สิบปีขึ้นไปใช้กัน จะเป็นแบบใช้น้ำประมาณ 12-13 ลิตรต่อการชักโครกเพื่อทำความสะอาด 1 ครั้ง ซึ่งในปัจจุบัน โถสุขภัณฑ์ได้ถูกพัฒนาให้มีการใช้น้ำที่น้อยลงในการทำความสะอาดโถ อาทิเช่น

โถสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ ( 6ลิตร ) แบบจังหวะเดียว ( single flush) เป็นระบบทำความสะอาดด้วยปริมาณน้ำที่น้อยกว่าแบบปกติครึ่งหนึ่ง ด้วยการทำงานแบบเดียวทั้งสำหรับการถ่ายหนักและเบา โถสุขภัณฑ์ประหยัดน้ำ ( 3ลิตร/ 6ลิตร)หรือ แบบสองจังหวะ (dual flush) ที่ทำความสะอาดด้วยปริมาณน้ำที่ต่างกัน โดยใช้น้ำ 3ลิตรสำหรับถ่ายเบา และ6 ลิตรสำหรับถ่ายหนัก  ซึ่งจากการที่เราเปลี่ยนจากโถแบบเก่าให้เป็นแบบใหม่ก็จะประหยัดน้ำไปได้มากที่สุดถึง 9-10 ลิตรต่อการถ่ายเบาหนึ่งครั้ง

   การใช้ก๊อกน้ำหรือฝักบัวที่มีอัตราการไหลของน้ำมากเกินความจำเป็นก็ทำให้สูญเสียน้ำและพลังงานในการสูบน้ำมากเกินไป ดังนั้นการเลือกใช้ก๊อกน้ำและฝักบัวรุ่นประหยัดน้ำ ก็สามารถช่วยได้ การเลือกก๊อกน้ำ แบบประหยัดน้ำในทุกวันนี้ก็ทำได้ง่ายขึ้น โดยส่วนใหญ่จะบอกอยู่แล้วว่ารุ่นนี้เป็นแบบ eco หรืออีกวิธีนึงก็คือสังเกตุว่าน้ำที่ออกมาเป็นฟองขาวๆแทนที่เป็นน้ำใสๆ เพราะว่าก๊อกรุ่นนั้นๆใช้อากาศมาเติมให้ปริมาตรของน้ำมากขึ้นในปริมาณน้ำที่เท่ากัน

การเก็บกักน้ำฝนเพื่อนำมาใช้ (Rain Water Harvesting)

                การเก็บกักน้ำฝนนำมาใช้เป็นวิธีที่ใช้กันมานานแล้วเช่นเก็บน้ำฝนใส่โอ่งไว้ใช้ก็เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดเมื่อเรานึกถึง แต่ว่าเราทราบกันหรือไม่ว่าการนำน้ำฝนมาใช้แทนการใช้งานของน้ำประปา นอกจากลดการใช้พลังงานและงบประมาณของรัฐแล้ว ยังเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย นั่นคือในบริเวณที่มีการก่อสร้างอย่างหนาแน่น พื้นที่ของดินที่จะซึมซับน้ำลงใต้ดินมีอย่างจำกัดเพราะผิวดินถูกแทนที่ด้วยอาคารและพื้นคอนกรีต เมื่อเวลาที่ฝนตกจะทำให้เกิดน้ำปริมาณมากที่ไม่สามารถซึมลงดินได้ จึงทำให้เกิดน้ำไหลบ่า ชะล้างและการพังทลายของหน้าดิน ซึ่งเป็นดินที่มีความสำคัญต่อการเพาะปลูก ฉะนั้นหากในแต่ละอาคารมีระบบเก็บกักน้ำฝนของตัวเองเพื่อนำน้ำนั้นไปใช้ จำนวนน้ำฝนที่ไหลบ่ารวมถึงน้ำที่ต้องการการระบายโดยระบบท่อของรัฐบาลก็จะลดลงจึงเป็นการลดปัญหาน้ำท่วมทางอ้อมอีกทางหนึ่งด้วย

การนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่ (Wastewater Reuse)

เพราะว่าเราไม่จำเป็นที่จะต้องนำน้ำที่สะอาดขนาดที่จะล้างหน้าได้ไปรดน้ำต้นไม้ นั้นจึงเป็นแนวคิดของการใช้น้ำให้เหมาะกับระดับความสะอาดของน้ำซึ่งเราแบ่งประเภทของน้ำภายในอาคารสามารถแบ่งได้เป็น สามประเภท คือ

น้ำดี (Potable Water) คือน้ำที่สามารถนำไปใช้ในการอุปโภค บริโภคได้ ได้แก่ น้ำประปา

น้ำทิ้ง(Grey Water) คือน้ำที่ผ่านการใช้งานจาก อ่างอาบน้ำ อ่างล้างมือ การซักผ้า

น้ำโสโครก (Black Water) คือน้ำที่มาจากโถสุขภัณท์ และ อ่างล้างจาน

ดังนั้นการนำน้ำทิ้งจากอาคารกลับมาใช้ใหม่ ก็คือการลดการใช้น้ำประปา โดยการนำน้ำทิ้ง (Grey Water) ที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ใหม่สำหรับกิจกรรมบ่างประเภทที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้น้ำที่มีความสะอาดระดับน้ำประปา เช่น การชำระล่างโถสุขภัณฑ์ หรือการรดน้ำต้นไม้ เป็นต้น

หวังว่าเรื่องการประหยัดน้ำที่เราพูดถึงในวันนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน Green Way บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ติดตาม greenway ได้ใหม่ในฉบับหน้านะครับ… สวัสดีครับ

1,541 views0 comments

Recent Posts

See All

Chapter15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน

Green Way Chapter 15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน การออกแบบบ้านโดยเน้นเรื่องการติดแอร์ให้ประหยัดพลังงานในบ้านเพื่อทำให้บ้านเย็นเป็นหลักนั้นเป็นการประหยัดพลังงานที่ดีประการหนึ่ง แต่ในขณะเดียว

Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3)

Green way Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3) “เสียสละเพื่อส่วนรวม” คำๆนี้ พูดง่ายแต่ทำยากนะครับ เพราะว่า การเสียสละแบบนี้ส่วนมากจะไม่ค่อยมีคนเห็น และส่วนใหญ่ไม่มีใครบังคับให้เรา

Chapter 12: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (2)

Green way Chapter 12: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (2) Sustainability หรือ ความยั่งยืน ที่มีการตระหนัก ถึงตัวโครงการเอง ผู้ใช้อาคาร สิ่งแวดล้อม ชุมชนรอบข้าง รวมถึง ส่วนรวมทั้งหมด นั้นคือ

bottom of page