top of page
  • Writer's picturegd

Chapter 12: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (2)

Updated: Jun 12, 2019

Green way

Chapter 12: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (2)

Sustainability หรือ ความยั่งยืน ที่มีการตระหนัก ถึงตัวโครงการเอง ผู้ใช้อาคาร สิ่งแวดล้อม ชุมชนรอบข้าง รวมถึง ส่วนรวมทั้งหมด นั้นคือ หัวใจของแนวความคิดเรื่อง กรีน ที่ปรากฏอยู่ในหัวข้อต่างๆของ เรื่องที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนของ LEED ที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้

4. การเลือกพัฒนาโครงการขึ้นในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนและได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรม

อาจจะฟังดูแปลกๆนะครับหัวข้อนี้ เพราะว่าไม่ว่าใครจะเลือกสถานที่ตั้งโครงการก็คงอยากได้ที่ สวยๆ สะอาดๆ กันทั้งนั้นแต่ทำไม เค้าถึงอยากให้เราเลือกที่โทรมๆ ก็เพราะว่าเหตุผลง่ายๆข้อเดียวที่ว่า ถ้าทุกคนเลือกแต่ที่ดินที่เป็นธรรมชาติสวยงามบริสุทธิ สักวันนึงก็คงไม่มีที่เหล่านั้นเหลืออยู่อีกต่อไป แต่หากมีคนที่ยอมเสียสละเข้าไปสร้างโครงการในที่ที่โทรมๆ และปรับปรุงให้เป็นสถานที่ที่ดีขึ้น โลกเราก็คงจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น หากมองในแง่ของการลงทุนก็คงไม่มีใครอยากจะทำใช่มั้ยครับ แต่ว่าในทางกลับกันคนที่คิดจะทำสามารถใช้จุดนี้เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับโครงการและองค์กรได้มากทีเดียว การทำความดี ยังไงก็ต้องมีผลดีตามมานะครับ

5. การขนส่งทางเลือก

5.1 การเลือกที่ตั้งให้อยู่ใกล้กับเส้นทางขนส่งมวลชน

ตรงกันข้ามกับข้อที่แล้ว ข้อนี้ เป็นพิ้นฐานในการพัฒนาโครงการเกือบทุกประเภทอยู่แล้ว เรื่องของวัตถุประสงค์ก็อย่างที่ทราบกันดีว่าใกล้เส้นทางขนส่งมวลชนไม่ว่าจะเป็นรถเมล์,รถไฟฟ้า หรือรถไฟ ย่อมทำให้เกิดการลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวและลดการใช้พลังงานและปล่อย Co2 สู่บรรยากาศ เพียงแต่ใน LEED เค้ากำหนดไว้ว่า ระยะห่างของโครงการกับสถานีรถประจำทางไม่ควรเกิน ¼ ไมล์ และอยู่ห่างการขนส่งประเภทรางไม่เกิน 1/2 ไมล์  คำถามก็คือ ทำไมต้อง ¼ ไมล์ (400 เมตร) และ 1/2 ไมล์  (800 เมตร) คำตอบก็คือ เค้ามีการศึกษากันแล้วว่า ระยะทางการเดินไม่เกิน 400 เมตรนั้น เป็นระยะทางที่คนจะยังตัดสินใจที่จะเดินไป หรือ ระยะที่คนเดินได้ (walkable distance) ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดิน คือเดินได้ไม่เดือนร้อน ชิว ชิว และ ระยะ 800 เมตร คือระยะที่คนจะยังพอเดินไหว คือเดินแบบไม่ค่อย ชิวแล้ว ก็เดินๆกันไป แต่ถ้าเกินจากนี้จะเริ่มท้อแล้วก็ไม่อยากเดินแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม สภาวะแวดล้อมก็ส่งผลมากพอควรสำหรับเรื่องนี้ เพราะว่าเมืองไทยนั้นร้อนการเดินบนทางเดินริมถนนบางทีก็ไม่ค่อยสุนทรีย์ จึงอาจจะทำให้ระยะที่คนจะเดินได้ในเมืองไทยสั้นลง

5.2 การมีที่จอดรถจักรยานและห้องเปลี่ยนชุด/อาบน้ำ ในโครงการ

เพราะว่าการที่จะส่งเสริมให้ใครทำอะไรเราต้องอำนวยความสะดวกให้เค้าก่อน ในหลายๆกรณี คนบ้านใกล้หลายๆคนตัดสินใจขับรถส่วนตัวมาทำงานเพราะว่าสถานที่ที่จะไปไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการปั่นจักรยาน ถ้าเราตัดเรื่องปัจจัยภายนอกเช่นช่องทางพิเศษที่พอเพียงต่อการปั่นจักรยานออกไป การที่โครงการใดมีการส่งเสริมในเรื่องการใช้จักรยานย่อมทำให้เกิดความสนใจของผู้ใช้โครงการขึ้นอย่างแน่นอน

5.3 การมีที่จอดรถพิเศษให้กับรถประเภท ที่มีการปล่อยมลพิษน้อยและประเภทประหยัดพลังงาน

วัตถุประสงค์หลักๆก็คือการทำให้เกิดการตื่นตัวในเรื่องของการใช้รถยนต์ส่วนตัวที่ประหยัดพลังงาน เช่น รถ Hybrid เป็นต้น โดยการมีที่จอดรถพิเศษให้กับรถยนต์ประเภทนี้ให้อยู่ใกล้ทางเข้า หรือมีการลดค่าที่จอดรถให้กับรถประเภทนี้

หรือมีที่จอดรถพิเศษให้กับรถที่มีผู้โดยสารร่วมกันมา (Carpool)  ซึ่งตอนนี้ในเมืองไทยก็มีการบริการที่จอดรถตามประเภทดังกล่าวบ้างแล้วโดยส่วนตัวผมรู้สึกดีมาก ที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำได้นำแนวความคิดนี้มาทำจริงเพื่อเป็นตัวอย่างในการผลักดันเรื่องแนวความคิดเรื่องการประหยัดพลังงาน แต่จะให้ดีกว่านี้น่าจะพิจารณาเรื่องลดค่าจอดรถให้กับรถประเภทนี้ด้วยก็ดีนะครับ

5.4 การจำกัดจำนวนที่จอดรถ

ฟังดูใจร้ายนะครับ แต่ว่าหัวข้อนี้เค้าต้องการให้ที่จอดรถในโครงการลดให้เท่ากับที่กฏหมายกำหนดไว้เท่านั้นเอง ไม่ให้มีมากกว่า เนื่องจากต้องการจะลดเรื่องมลภาวะและการก่อสร้างที่จะต้องสิ้นเปลื้องและรบกวนธรรมชาติเพื่อตอบรับกับการใช้รถส่วนตัวที่มากเกินไป อย่างไรก็ตามในข้อนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าสถานที่ตั้งโครงการนั้นตั้งอยู่ในที่ที่สามารถลดที่จอดรถลงได้หรือไม่ เพราะว่าในโครงการบางประเภทและบางสถานที่ในเมืองไทย ก็ยังไม่สามารถทำตามข้อนี้ได้จริงๆ

ติดตามเรื่อง การพัฒนาที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนต่อได้ใน Green Way ฉบับหน้านะครับ

34 views0 comments

Recent Posts

See All

Chapter15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน

Green Way Chapter 15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน การออกแบบบ้านโดยเน้นเรื่องการติดแอร์ให้ประหยัดพลังงานในบ้านเพื่อทำให้บ้านเย็นเป็นหลักนั้นเป็นการประหยัดพลังงานที่ดีประการหนึ่ง แต่ในขณะเดียว

Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร

Green way Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร วันนี้เรื่องที่เราจะพูดถึงกันเป็นหมวดที่สองที่อยู่ในการประเมินอาคารของ LEED นั่นก็คือเรื่องการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร คำถาม

Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3)

Green way Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3) “เสียสละเพื่อส่วนรวม” คำๆนี้ พูดง่ายแต่ทำยากนะครับ เพราะว่า การเสียสละแบบนี้ส่วนมากจะไม่ค่อยมีคนเห็น และส่วนใหญ่ไม่มีใครบังคับให้เรา

bottom of page