top of page
  • Writer's picturegd

chapter 4: ห้องนอนสีเขียว

Updated: Jun 12, 2019

Green way

chapter 4:  ห้องนอนสีเขียว


หลังจากที่เราพูดคุยกันเรื่องบ้านกรีนในเรื่องความเข้าใจทั่วไปกันมาบ้างพอสมควรแล้วใน  ฉบับที่ผ่านๆมาใน คอลัมม์ Green way เริ่มจากเดือนนี้ไปเราจะเริ่ม zoom-in เข้าไปพูดถึงเรื่องเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยด้านกรีน ในห้องต่างๆของบ้าน เริ่มกันก่อนเลยด้วยห้องที่ทุกๆคนน่าจะให้ความสำคัญกันมากที่สุด… ห้องนอน


ห้องนอนที่กรีนน่าจะเป็นอย่างไร เท่าที่ผมลองนึกๆดูน่าจะมีหัวข้อหลักๆประมาณนี้ครับ


1. ห้องนอนที่ได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงสุขภาพของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก


ปัจจัยเกี่ยวกับสุขภาพน่าจะเป็นสองข้อใหญ่คือ เรื่องฝุ่น และเรื่องสารระเหยที่ตกค้างภายในห้อง


–           การจัดการกับฝุ่น ในห้องนอน

การออกแบบห้องนอนที่ลดการมีซอกหลืบและบริเวณที่ยากจะเข้าไปถึงให้น้อยที่สุดจะช่วยลดฝุ่นในห้องนอนได้ และง่ายต่อการทำความสะอาด ยกตัวอย่างเช่น การเลือกใช้ตู้ที่มีบานเปิดใส่หนังสือแทนชั้นหนังสือ หรือการเลือกใช้เตียงที่ใต้เตียงปิดแทนการเลือกใช้เตียงที่มีขา รวมถึงการจัดวางของและเฟอนิเจอร์ ที่ไม่ทำให้เกิดมุมอับที่จะกักเก็บฝุ่นไว้ เพราะการกันฝุ่นไม่ให้เข้าห้องนอนเราเลยนั้นเป็นได้ยากในการอยู่อาศัยในเมืองกรุง ดังนั้นการมีฝุ่นเข้าห้องนอนบ้างถือเป็นเรื่องธรรมดาแต่อยู่ที่ว่าเราจะทำความสะอาดฝุ่นที่เข้ามาได้ดีแค่ไหน เพราะการเปิดประตูหน้าต่างเพื่อรับอากาศใหม่ๆ บริสุทธิ์เข้ามาหมุนเวียนในห้องนอนบ้างเป็นครั้งคราวก็เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อสุขอนามัยที่ดี


–          การหลีกเลี่ยงและลดการใช้สี, วัสดุพื้น ผนัง และ เฟอนิเจอร์ ที่มี สาร VOCs

ตามที่ได้อธิบายไปในฉบับที่แล้วว่า สาร VOCs (Volatile Organic Compounds) เป็นสารที่ระเหยออกมาจากส่วนประกอบที่ใช้ในการตกแต่งภายในและเครื่องเรือน ดังนั้นการสอบถามจากผู้ขายหรือกำชับสถาปนิกและมัณฑนากรให้เลือกใช้วัสดุที่ปราศจากสาร VOCs หรือมีในปริมาณที่น้อย จะช่วยให้ห้องนอนของเราปลอดจากสารที่มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดมะเร็งและโรคภูมิแพ้เพราะว่าห้องนอนเป็นห้องที่เราใช้ชีวิตอยู่นานที่สุดในบ้าน


2 .ห้องนอนที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถประหยัดพลังงานได้


–          การออกแบบและเลือกชนิดและตำแหน่งของ สวิตช์ เปิด ปิดไฟให้เหมาะสม

Phantom load หรือ Vampire Effect เป็นชื่อเรียกที่คนอเมริกันเรียกการ ที่ไฟฟ้าถูกใช้ไปในระหว่างที่มีการเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้แบบ stand by จากบทความที่ผมอ่านเจอ เค้าบอกว่า Cornell University ทำการสำรวจในอเมริกาดู พบว่าในบ้านคนทั่วไป ในอเมริกามี เจ้า Vampire เนี้ยอยู่ประมาณบ้านละ 20 ตัว ซึ่งทำให้เจ้าของบ้านเสียค่าไฟโดยไม่จำเป็นถึงปีละ 200 เหรียญสหรัฐ


ทีนี้กลับมาดูบ้านเราบ้างในห้องนอนท่านผู้อ่านมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็น Vampire อยู่กี่ตัว ผมลองเอาบ้านผมเป็นตัวอย่างละกันนะครับ มี โทรทัศน์ หนึ่งเครื่องละ, เครื่องเล่นดีวีดีอีกหนึ่ง, เครื่องรับสัญญาณเคเบิลอีกหนึ่ง และเครื่องเล่นเกมส์อีกหนึ่ง รวมๆ แล้วแค่ตรงตู้โทรทัศน์นี่ก็ 4 ตัวแล้วครับ แล้วที่น่าแค้นใจก็คือ วันๆ นึงเราใช่เจ้าเครื่องพวกนี้ไม่เกิน 3-4 ชั่วโมงต่อวัน แต่มันกินไฟ 24ชั่วโมงน่ะสิครับ วิธีแก้ปัญหาที่ง่ายที่สุดคือใช้ สายต่อที่มีสวิตช์ปิดเปิด เพราะว่าการถอดปลั๊กเสียบปลั๊กเจ้าสี่ตัวนี้ทุกวันคงไม่น่าสนุกเท่าไหร่ แต่วิธีทีที่น่าจะดีที่สุดคือการออกแบบ ระบบปลั๊กไฟที่มีสวิทต์ในตัว ซึ่งจะทำให้สะดวกและปลอดภัยและประหยัดพลังงานได้ครับ


วันนี้เรื่องห้องนอนคงยังไม่จบครับ ฉบับหน้าผมจะพูดถึงเรื่อง การออกแบบระบบประตูหน้าต่างที่เหมาะสมสำหรับห้องนอน ครับ อย่าลืมติดตาม Green Way นะครับ

45 views0 comments

Recent Posts

See All

Chapter15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน

Green Way Chapter 15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน การออกแบบบ้านโดยเน้นเรื่องการติดแอร์ให้ประหยัดพลังงานในบ้านเพื่อทำให้บ้านเย็นเป็นหลักนั้นเป็นการประหยัดพลังงานที่ดีประการหนึ่ง แต่ในขณะเดียว

Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร

Green way Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร วันนี้เรื่องที่เราจะพูดถึงกันเป็นหมวดที่สองที่อยู่ในการประเมินอาคารของ LEED นั่นก็คือเรื่องการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร คำถาม

Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3)

Green way Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3) “เสียสละเพื่อส่วนรวม” คำๆนี้ พูดง่ายแต่ทำยากนะครับ เพราะว่า การเสียสละแบบนี้ส่วนมากจะไม่ค่อยมีคนเห็น และส่วนใหญ่ไม่มีใครบังคับให้เรา

bottom of page