top of page
  • Writer's picturegd

Chapter 6: การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Updated: Jun 12, 2019

Green way

Chapter 6: การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


ถ้าพูดกันถึงเรื่องการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วงการก่อสร้างมาเป็นอันดับต้นๆ แต่ว่าเราผู้บริโภคก็สามารถมีส่วนช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้โดยการเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หลายคนคงสงสัยว่าแล้วที่ว่าเป็นมิตรเนี่ย เป็นยังไง พอมาถึงตรงนี้คงต้องเกริ่นก่อนว่า ในการที่จะได้มาซึ่งสิ่งของทุกๆอย่างนั้นมีการใช้พลังงานเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งนั้น พอมีการใช้พลังงานก็เกิดการปล่อย CO2 ออกไป จึงมีคำๆนึงใช้แทนค่า การใช้พลังงานตลอดชั่ววัฏจักรชีวิตของวัสดุ ขึ้นมา คือ “Embodied Energy”


ลองยกตัวอย่างดูนะครับ สมมติว่าเราต้องการเลือกวัสดุปูพื้นห้องรับแขก บังเอิญ ไปเดินดูแล้วเจอที่ชอบอยู่ สองแบบ คือหินอ่อนจากอิตาลี ที่ให้ความสวยงามหรูหราแบบ Classic กับ กระเบื้องอัดไม้ไผ่ทำในไทย ที่ให้ความสวยงามแบบ Oriental ลองมาดูกันว่า เรื่อง Embodied Energy วัสดุทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างไร


Embodied Energy ของพื้นหินอ่อนจากอิตาลี คงเริ่มที่การระเบิดหินที่ภูเขาสักแห่งในอิตาลี> ขนส่งหินก้อนใหญ่มาเข้าโรงงาน> โรงงานทำการแปรรูปให้เป็น แผ่น มีการ ตัด ขัด หลายขั้นตอน บรรจุใส่กล่อง > ขนส่งไปเก็บ > ขนส่งไปเมื่อมีการสั่งของมาที่ท่าเรือ > ขึ้นเรือมาที่เมืองไทยข้ามมหาสมุทรอินเดีย > ขนส่งมาที่โกดังในไทย > ขนส่งไปที่สถานที่ก่อสร้าง


จะเห็นได้ว่าตลอดขั้นตอนการผลิตและการขนส่งระยะไกล มีการใช้พลังงานทั้งไฟฟ้า น้ำมัน ทำให้เกิดน้ำเสีย ปล่อยสารพิษและฝุ่น มากมายหลายขั้นตอน


เมื่อเปรียบเทียบกับ กระเบื้องอัดไม้ไผ่ทำในไทย ที่ผมยกตัวอย่างไม้ไผ่ในที่นี้ก็เพราะว่า ไม้ไผ่เป็นวัสดุที่มีการปลูกทดแทนได้รวดเร็ว มีการใช้พลังงานน้อย ในการปลูก ตัด แปรรูป รวมถึงการขนส่งภายในประเทศด้วยระยะทางและขั้นตอนที่น้อยกว่าจึงทำให้เกิดผลกระทบที่น้อยกว่ามาก ในเรื่องการใช้ผลังงานเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ


จากตัวอย่างที่ยกมาคงพอจะเห็นภาพคร่าวๆแล้วนะครับ ผมว่าถ้าหากเรานำความคิดที่ตระหนักถึง Embodied Energy ไป ใช้ในการตัดสินใจและเลือกซื้อสิ่งของ น่าจะทำให้ผู้ผลิต หันมาให้ความสนใจกับขั้นตอนของการผลิตและการจัดส่ง ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ซึ่งนั้นก็น่าจะทำให้ โลกเราสุขภาพดีขึ้นได้บ้างนะครับ


ในฉบับหน้าจะเป็นเรื่องของการเลือกใช้วัสดุประเภทไม้และวัสดุทดแทนไม้ ติดตามอ่านได้ใน Green Way ฉบับหน้านะครับ

47 views0 comments

Recent Posts

See All

Chapter15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน

Green Way Chapter 15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน การออกแบบบ้านโดยเน้นเรื่องการติดแอร์ให้ประหยัดพลังงานในบ้านเพื่อทำให้บ้านเย็นเป็นหลักนั้นเป็นการประหยัดพลังงานที่ดีประการหนึ่ง แต่ในขณะเดียว

Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร

Green way Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร วันนี้เรื่องที่เราจะพูดถึงกันเป็นหมวดที่สองที่อยู่ในการประเมินอาคารของ LEED นั่นก็คือเรื่องการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร คำถาม

Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3)

Green way Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3) “เสียสละเพื่อส่วนรวม” คำๆนี้ พูดง่ายแต่ทำยากนะครับ เพราะว่า การเสียสละแบบนี้ส่วนมากจะไม่ค่อยมีคนเห็น และส่วนใหญ่ไม่มีใครบังคับให้เรา

bottom of page