top of page
  • Writer's picturegd

Chapter 8 : การเลือกใช้วัสดุประเภทไม้และวัสดุทดแทนไม้ 2

Updated: Jun 12, 2019

Green way

Chapter 8 : การเลือกใช้วัสดุประเภทไม้และวัสดุทดแทนไม้ 2


จากเมื่อคราวที่แล้วที่ผมได้พูดถึงเรื่องไม้ FSC ไปแล้ว วันนี้จะกลับมาพูดถึงเรื่องวัสดุทดแทนไม้ในงานสถาปัตยกรรมบ้าง ในปัจจุบันไม้เทียมได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากเนื่องด้วยความทนทนและอายุการใช้งานที่นานกว่า และเป็นการลดการใช้ไม้จริงซึ่งส่งผลกระทบต่อธรรมชาติ อย่างไรก็ตามบางท่านอาจจะรู้สึกว่าในด้านสัมผัสและความสวยงามนั้นไม้เทียมทั้งหลายยากที่จะมาทดแทนไม้จริงได้                       

วันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องของการตกแต่งอาคารภายนอกก่อนแล้วกันนะครับ อย่างที่เราเห็นๆกัน ถ้าหากเราตั้งใจจะเอาไม้จริงมาใช้ภายนอกอาคารไม่ว่าจะเป็นพื้นไม้ เป็น ระแนง ภายใน 1-2 ปีก็ต้องทำการบำรุงรักษากันรอบนึงเนื่องด้วยแดด ฝน บ้านเรามันก็แรงเอาการอยู่ ดังนั้นไม้เทียมจึงเข้ามาเป็นตัวเลือกสำหรับอาคารบางประเภทที่ยังต้องการfeeling ของไม้และความเป็นธรรมชาติอยู่ทนนาน ไม่ต้องดูแลรักษากันบ่อยๆ วัสดุประเภทไม้เทียมที่มีอยู่ในท้องตลาดบ้านเรามีอยู่ สองประเภทใหญ่ๆนั่นคือ ประเภทไฟเบอร์ซีเมนต์ที่มีสีและลวดลายเป็นไม้ และ วัสดุจำพวกพลาสติกขึ้นรูปที่มีส่วนประกอบของไม้ปนอยู่ จะข้ามในเรื่องข้อดีข้อเสียของวัสดุทั้งสองประเภทไปก่อนนะครับเพราะว่าที่ผมพูดถึงจะเป็นเรื่องของการออกแบบ การใช้วัสดุทดแทนไม้และไม้จริงครับ เพราะว่าบางครั้งเราสามารถใช้ไม้จริงและไม้เทียมในการออกแบบอาคารเดียวกันได้ และ ยังคงดูกลมกลืนกันด้วยเพื่อลดจำนวนการใช้ไม้จริงครับ


“ระยะห่างและการเข้าถึง การมองเห็น และ การสัมผัส”


เพราะว่าการอยู่อาศัยในบ้านหรืออาคาร  บางส่วนเราได้แต่มองดู บางส่วนเราสามารถเข้าไปดูใกล้ๆ บางส่วนเราสามารถเข้าไปสัมผัส การมีระยะการเข้าถึงที่ไม่เท่ากันนี้เป็นช่องว่างที่เราสามารถออกแบบโดยใช้ไม้เทียมเข้าไปทดแทนไม้จริงได้

  1. ในระยะไกลถึงเราจะใช้ไม้จริงลงไปก็คงไม่มีใครสามารถบอกได้ว่านี้คือไม้จริงหรือไม้เทียม เช่น หลังคาไม้ระแนงที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าการเอื้อมถึง การทำฝ้าเว้นร่องภายนอก การตกแต่งผนังภายนอกอาคารที่ชั้นสองขึ้นไป เป็นต้น

  2. ในระยะการมองเห็นใกล้แต่ไม่มีการสัมผัส เนื่องด้วยในปัจจุบัน ไม้เทียมมีหลายชนิด หลายเกรด บางชนิด ที่เราเห็นๆกันอยู่เป็นไม้เทียมที่เกรดดีหน่อย การใช้งานมักจะเป็นพวกพื้นที่อยู่ภายนอกอาคาร หรือระเบียงก่อนเข้าบ้าน เราใส่รองเท้าเดินเหยียบตลอดเวลา ความแข้งแรงของไม้เทียมนั้นทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่าไม้จริง และตราบที่เราไม่ได้นั่งลงไปกับพื้นนั้น หรือถอดรองเท้าเดินก็เป็นการยากที่จะแยกความแตกต่าง

  3. ในระยะที่สัมผัสได้ เช่นผนังอาคารด้านนอกที่ชั้น1, ที่นั่ง หรือระแนงที่ระเบียง ก็คงต้องใช้ไม้เทียมที่มีสัมผัสและสีใกล้เคียงธรรมชาติที่สุดที่จะเป็นไปได้ หรือในกรณีที่ เป็นพื้นหรือผนังภายนอกที่อยูในบริเวณที่ไม่โดนฝนตลอดเวลาเช่น พื้นที่พักผ่อนกึ่งภายใน ภายนอกที่มีหลังคาคลุม เราสามารถใช้ไม้จริงได้เพราะว่าอายุการใช้งานของไม้ในบริเวณนี้ก็จะยาวนานกว่าบริเวณที่อยู่ภายนอกอาคารตลอดเวลา

ในงานสถาปัตยกรรมความงามและความรู้สึกเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามแต่ในขณะเดียวกันเรื่องการใช้ไม้จริงเฉพาะเท่าที่จำเป็นและเรื่องอายุการใช้งานของวัสดุก็ไม่น่าจะถูกมองข้ามเช่นกันนะครับ

26 views0 comments

Recent Posts

See All

Chapter15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน

Green Way Chapter 15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน การออกแบบบ้านโดยเน้นเรื่องการติดแอร์ให้ประหยัดพลังงานในบ้านเพื่อทำให้บ้านเย็นเป็นหลักนั้นเป็นการประหยัดพลังงานที่ดีประการหนึ่ง แต่ในขณะเดียว

Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร

Green way Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร วันนี้เรื่องที่เราจะพูดถึงกันเป็นหมวดที่สองที่อยู่ในการประเมินอาคารของ LEED นั่นก็คือเรื่องการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร คำถาม

Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3)

Green way Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3) “เสียสละเพื่อส่วนรวม” คำๆนี้ พูดง่ายแต่ทำยากนะครับ เพราะว่า การเสียสละแบบนี้ส่วนมากจะไม่ค่อยมีคนเห็น และส่วนใหญ่ไม่มีใครบังคับให้เรา

bottom of page