top of page
  • Writer's picturegd

Chapter2: บ้านประหยัดพลังงานแบบ passive (พึ่ง+พา ธรรมชาติ)

Updated: Jun 12, 2019

Green Way ::

Chapter2:  บ้านประหยัดพลังงานแบบ passive  (พึ่ง+พา ธรรมชาติ)


วันนี้ผมจะขอพูดถึงเรื่องของบ้านประหยัดพลังงานหรือบ้านกรีนแบบเข้าเรื่องกันเลย


ถ้าหากพูดถึง คำว่า“บ้านประหยัดพลังงาน” คำต่อไปที่คุณจะนึกถึงเป็นคำต่อไปคืออะไร ผมเดาเอาเล่นๆว่า 7 ใน 10 คนคงคิดถึง แผงโซล่าเซลล์ และรวมไปถึงระบบอาคารที่มีความพิเศษ ไปกว่าบ้านหรืออาคารที่เห็นกันอยู่ทั่วไป แต่จริงๆแล้วบ้านกรีนมีได้หลายรูปแบบนะครับ ตั้งแต่บ้านของคนมีสตางค์หน่อยที่มีออฟชั่นครบ เหมือนรถยนต์ที่ซื้อตอนงานมอเตอร์โชว์ ได้สปอยเลอร์ สเกิตต์รอบคัน ไปจนถึง บ้านไม้ในต่างจังหวัดของลุงบุญมี ที่มีเพียงไม้กับหลังคาสังกะสี ซึ่งจริงๆแล้ว บ้านประหยัดพลังงานหรือบ้านกรีนนั้น โดยส่วนตัวผมคิดว่ามันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า ใครใช้เทคโนโลยีที่ดีกว่ากัน หรือใครประหยัดไฟได้มากกว่ากัน ผมว่ามันอยู่ที่ทัศนะคติและแนวความคิดในเรื่องการประหยัดพลังงาน


พอมาถึงตรงนี้แล้วผมขออธิบายอย่างสั้นๆก่อนนะครับว่า passive green home คืออะไร คำตอบก็ตามที่อยู่ในวงเล็บนั่นล่ะครับ คือบ้านกรีนที่เน้นการพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ใช้แสงแดดธรรมชาติให้แสงสว่างในเวลากลางวัน, การระบายอากาศด้วยลมธรรมชาติ (รวมถึงการกันแดดด้วยวิธีต่างๆก่อนที่แดดจะมาสัมผัสผนังบ้าน) อันนี้เราทุกคนก็คงคิดเหมือนๆกันนะครับว่า ไม่ไหวม้าง…passive อย่างเดียวคงไม่พอ เมืองไทยมันร้อนซะขนาดนี้ ก็เลยต้องมีการใช้ระบบ active ซึ่งหมายรวมถึงระบบที่ใช้ไฟฟ้า ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าแสงสว่าง, ระบบปรับอากาศ ทีนี้เมื่อรู้ชื่อเล่นของทั้งสองระบบแล้วผมจะกลับมาที่เรื่องทัศนะคติอีกทีนะครับ


เมื่อพูดเรื่องบ้านประหยัดพลังงาน เราจะคิดถึงเรื่องการใช้พลังงานให้น้อยลงเป็นอันดับแรกนั่นก็คือเราข้ามไปคิดถึงเรื่อง ระบบ active ก่อนเลย ซึ่งถ้าเราคิดถึงเรื่อง passive ก่อนก็คือการเริ่มคิดว่าเราใช้พลังงานที่ได้มาฟรีๆไม่ต้องแปรรูปเพื่อใช้งานให้เต็มที่ก่อนที่มันจะถึงจุดที่มันจำเป็นต้องใช้จริงๆและพอเวลาที่เราใช้เราก็ใช้ได้อย่างประหยัดด้วยระบบ active พูดไปพูดมาเดี๋ยว active เดี๋ยว passive เริ่มจะงง ผมจะขอยกตัวอย่างที่ง่ายๆก่อนนะครับ


การเปิดไฟเมื่อเข้าห้องน้ำในตอนกลางวันเพราะว่าห้องน้ำมันมืดสลัวๆเพราะช่องแสงมีน้อยเกินไป เวลาเข้าไปทำธุระแล้วไม่เปิดไฟยุงชอบมากัดแล้วมองไม่เห็น เราก็เลยเริ่มต้นคิดว่า โอเช! เรามาทำบ้านเราให้ประหยัดพลังงานมากขึ้นกันดีว่า!! ด้วยการเปลี่ยนหลอดไฟห้องน้ำเป็นแบบหลอดประหยัดไฟทั้งหมด ประหยัดพลังงานลดลงได้มากจริงๆครับ แต่ถ้าเราแก้ใหม่โดยพึ่งแสงแดดและพาแสงแดดเข้ามาให้ห้องน้ำสว่างแทนที่การเปิดไฟ เราก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟเข้าห้องน้ำตอนกลางวันอีกต่อไป


นั่นเป็นตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมาจะประสพการณ์ตรงของผมเอง ซึ่งจริงๆแล้วเราสามารถใช้หลักการ passive มาก่อน active ได้เสมอกับหลายๆส่วนของบ้าน ยกตัวอย่างอีกซักทีนะครับ เช่น ห้องนั่งเล่น ที่มักจะเป็นพื้นที่ใหญ่ของบ้านและมักมีการใช้งานบ่อยที่สุดในตอนกลางวัน ถ้าเรากันแดดให้ดีๆ เตรียมช่องเปิดให้รับลมได้ดี เตรียมการทำความเย็นให้กับอากาศที่จะพัดเข้ามาด้วยสวนร่มรื่นอีกสักหน่อย อาจจะเป็นได้ว่าเกือบตลอดทั้งปีเวลาร้อนๆไม่มีลม เปิดพัดลมก็พอจะเอาอยู่ เปิดแอร์บ้างเป็นบางวัน น่าจะดีกว่าเราข้ามไปทำให้ห้องที่พร้อมติดฉนวน,ช่องเปิดน้อยๆติดแอร์แล้วประหยัดพลังงานแต่เพียงอย่างเดียว


เพราะจากที่ผมพูดคุยกับคนที่คิดที่จะสร้างบ้านประหยัดพลังงานหลายๆท่าน ส่วนใหญ่ คิดตรงกันว่าถึงแม้ว่าเราจะอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรมากเพียงใดมันยังมีวันดีๆที่เราสามารถชื่นชมกับความงามของอากาศและธรรมชาติได้อยู่นะครับ

103 views0 comments

Recent Posts

See All

Chapter15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน

Green Way Chapter 15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน การออกแบบบ้านโดยเน้นเรื่องการติดแอร์ให้ประหยัดพลังงานในบ้านเพื่อทำให้บ้านเย็นเป็นหลักนั้นเป็นการประหยัดพลังงานที่ดีประการหนึ่ง แต่ในขณะเดียว

Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร

Green way Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร วันนี้เรื่องที่เราจะพูดถึงกันเป็นหมวดที่สองที่อยู่ในการประเมินอาคารของ LEED นั่นก็คือเรื่องการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร คำถาม

Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3)

Green way Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3) “เสียสละเพื่อส่วนรวม” คำๆนี้ พูดง่ายแต่ทำยากนะครับ เพราะว่า การเสียสละแบบนี้ส่วนมากจะไม่ค่อยมีคนเห็น และส่วนใหญ่ไม่มีใครบังคับให้เรา

bottom of page