top of page
  • Writer's picturegd

Chapter3: บ้านกรีน ปลอดสาร

Updated: Jun 12, 2019

Green Way

Chapter3: บ้านกรีน ปลอดสาร


เวลาที่เราพูดกันเรื่อง อาคารกรีน บ้านกรีน เรามักจะคิดว่า การประหยัดพลังงานคือเรื่องเดียวที่จะต้องนึกถึง แต่ในความเป็นจริงเรื่องการทำ บ้านกรีน หรือ อาคารกรีน ที่เป็นที่ยอมรับกันในต่างประเทศ ได้ครอบคลุมไปถึงเรื่องต่างๆนอกเหนือจากการใช้ไฟฟ้าหรือพลังงงานอีกหลายๆเรื่อง ยกตัวอย่าง เช่น

  1. การเลือกที่ตั้งอาคารเพื่อให้มีการรบกวนสภาพแวดล้อมและธรรมชาติให้น้อยที่สุด รวมถึงการเลืองที่ตั้งให้ใกล้การคมนาคมขนส่ง หรือใกล้กับสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันให้มากที่สุดเพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือทำให้ระยะทางในการเดินทางใกล้ที่สุดเพื่ลดการใช้น้ำมันและการปล่อยก๊าซ CO และ CO2

  2. การนำน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่เพื่อทดแทนการใช้น้ำประปาให้มากที่สุดเพราะการได้มาซึ่งน้ำประปา ทางการประปาได้ใช้พลังงานในขั้นตอนต่างๆผลิตน้ำประปา จึงทำให้น้ำประปามีต้นทุนทางพลังงานสูง ถ้าเราสามารถใช้น้ำฝนหรือน้ำเสีย(น้ำจากฝักบัว, อ่างล้างหน้า เป็นต้น) มาทดแทนในส่วนที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้น้ำประปาทั้งหมด เช่น การรดน้ำต้นไม้ การล้างรถ ใช้กดชำระโถสุขภัณฑ์ ก็จะเป็นการช่วยชาติประหยัดพลังงานได้ทางอ้อม

  3. การเลือกใช้วัสดุก่อสร้าง ตกแต่ง, เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงสารเคมีต่างๆในบ้านเพื่อ ลดและหลีกเลี่ยง สาร VOCs ที่เป็นสารเคมีแอบแฝงภายในบ้านที่ส่งผลเสียถึงสุขภาพของอยู่อาศัยซึ่ง เป็นเรื่องที่ผมจะยกมาพูดถึงในวันนี้ครับ

เราคงเคยได้ยินเรื่องผักปลอดสารกันมาแล้วทุกคนใช่มั้ยครับ หลายคนคงสงสัยว่า แล้วบ้านปลอดสารนี่มันเป็นยังไง?


ที่ผมจะยกมาวันนี้ เอาประเภทเดียวก่อนแล้วกันนะครับ สารที่ว่านี้ก็คือ VOCs (ย่อมาจาก Volatile Organic Compounds) แปลเป็นไทยว่าสารอินทรีย์ไอระเหย ดูจากคำแปลตรงๆตัวนี่ ฟังดูห่างเหินไม่คุ้นเคยนะครับ แต่ถ้าลองเป็นประโยคนี้ดูน่าจะเคยได้ยินกันนะครับ “ว้าว นี่เธอซื้อรถใหม่เหรอ ขอดูในรถหน่อยนะ หูย… กลิ่นรถใหม่นี่มันหอมจริงๆเลยนะเนี่ยยยย” นั่นละครับ VOCs เต็มๆ


จริงๆแล้วขออธิบายสักนิดครับ ก็คือเจ้าตัวสารที่ปล่อย VOCs ไม่ใช่สารพิษ แต่เป็นสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของวัสดุต่างๆบางประเภท แต่ตัวมันเองมีการปล่อยสารระเหยออกมาได้ และเมื่อร่างการมนูษย์ได้รับเราไปสามารถส่งผลกับสุขภาพในระยะยาว ในรถก็มีในบ้านก็มีครับ ส่วนมากสารเหล่านี้จะมาจากในบ้านกับพวก สีทาบ้าน บางชนิด, กาวบางชนิดที่ใช้กับ พรม เฟอร์นิเจอร์ วอลล์เปเปอร์ ฝ้าเพดาน รวมถึง น้ำยาทำความสะอาดบางชนิดและอื่นๆ ซึ่งผลเสียต่อสุขภาพก็จะมี โรคทางเดินหายใจ, โรคภูมิแพ้

ผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันของเด็กและทารก และอื่นๆ


ทีนี่คำถามต่อมาก็คือเราสามารถทำอะไรกับเจ้าสาร VOCs รอบตัวเราได้บ้าง วิธีแรกก็คือ ปล่อยให้มันระบายออกมาครับ ถ้ามันอัดอั้นอะไรก็ให้ก็ให้เค้าระบายออกมาแล้วเราไปอยู่ห่างๆครับ หรือเรียกเป็นภาษาฝรั่งว่า “ flush out” หรือการเปิดให้อากาศจากภายนอกนำเอาสารระเหยออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนการใช้งานแทนที่จะปิดให้สารระเหยสะสมเอาไว้ภายใน และวิธีที่สองก็คือ การเลือกใช้วัสดุในการสร้างบ้านที่ไม่มีสาร VOCs หรือมีน้อย ซึ่งขณะนี้ในประเทศไทยเอง ผู้ผลิตบางรายก็ได้นำเอาสินค้าพวก “ LOW- VOCs” ออกสู่ตลาดบ้างแล้ว


ผมเชื่อว่าเมื่อผู้บริโภคอย่างเราๆท่านๆได้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับ VOCs แล้ว ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่จะกระตุ้นให้ผู้ผลิต ผลิตสินค้าเพื่อการก่อสร้างปลอดสารออกสู่ตลาดมากขึ้นในราคาที่ถูกลงครับ

28 views0 comments

Recent Posts

See All

Chapter15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน

Green Way Chapter 15 : การออกแบบบ้านเพื่อการป้องกันความร้อน การออกแบบบ้านโดยเน้นเรื่องการติดแอร์ให้ประหยัดพลังงานในบ้านเพื่อทำให้บ้านเย็นเป็นหลักนั้นเป็นการประหยัดพลังงานที่ดีประการหนึ่ง แต่ในขณะเดียว

Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร

Green way Chapter 14: การใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร วันนี้เรื่องที่เราจะพูดถึงกันเป็นหมวดที่สองที่อยู่ในการประเมินอาคารของ LEED นั่นก็คือเรื่องการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดภายในอาคาร คำถาม

Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3)

Green way Chapter 13: ที่ตั้งโครงการอย่างยั่งยืนในนิยามของ LEED (3) “เสียสละเพื่อส่วนรวม” คำๆนี้ พูดง่ายแต่ทำยากนะครับ เพราะว่า การเสียสละแบบนี้ส่วนมากจะไม่ค่อยมีคนเห็น และส่วนใหญ่ไม่มีใครบังคับให้เรา

bottom of page